ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านอารักขาพืช

โรคกาบใบแห้งในนาข้าว

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani

ลักษณะอาการ

พบในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฎแผลบริเวณกาบใบใกล้ระดับน้ำ ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ถ้าต้นข้าวแตกกอมากก็จะเบียนเสียดกันมากขึ้น ทำให้โรคระบาดรุนแรง แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้น และถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลจะลุกลามถึงใบธง และกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก

การแพร่ระบาด

เชื้อรามีชีวิตข้ามฤดู อาศัยอยู่ในตอซัง หรือวัชพืชในนาข้าว ซึ่งสามารถทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา

การป้องกันและกำจัด

1.หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรเผาตอซัง และพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา

2.ควรกำจัดวัชพืชตามคันนา และแหล่งน้ำ เพื่อทำลายพืชอาศัย และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา

3.ใช้สารชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทิลิส (เชื้อแบคทีเรียปฏิบักษ์)

4.ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โพรพิโคนาโซล เพนไซคูรอน โดยไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคนี้จะเกิดเป็นหย่อมๆ

916297total visits,345visits today

โรคใบไหม้มันสำปะหลัง

เชื้อสาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.manihotis

ลักษณะอาการ

ใบเป็นจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหล จนถึงอาการยอดเหี่ยวและแห้งตาย นอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อน้ำ ท่ออาหารของลำต้นมีสีน้ำตาลดำและรากเน่า

การป้องกันกำจัด

1.ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรค

2.ใช้ท่อนพันธุ์ที่ทนทานสูง เช่น ระยอง 90

3.เมื่อเริ่มพบอาการของโรคให้ทำลายต้นที่เป็นโรคโดยการฝัง หรือเผา

4.หากมีการระบาดรุนแรงให้รีบเก็บเกี่ยว และทำลายเศษซากและต้นที่เป็นโรคโดยฝัง หรือเผาทิ้ง

916297total visits,345visits today

ชนิดสถานะของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

อักษรย่อชื่อเต็มคำอธิบาย
ECEmulsifiable Concentrateสูตรชนิดน้ำมันเข้มข้น เป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อทำการเจือจางด้วยน้ำก่อนนำไปใช้ จะได้สารอิมัลชั่นมีลักษณะขุ่นขาว
EWEmulsion oil in Waterสูตรผสมเหลว สารเคมีละลายอยู่ในน้ำมัน เมื่อผสมน้ำสารอิมัลชั่นจะทำให้ละลายแขวนลอยในน้ำได้
MEMicro Emulsionสูตรผสมสารเหลวใส-ขาวขุ่น เมื่อผสมน้ำสารอิมัสชั่นจะทำให้สารละลายแขวนลอยในน้ำได้
SGWater Solution Granulesสูตรชนิดรูปเม็ดละลายน้ำ ต้องผสมน้ำก่อนใช้จะได้สารละลายของสารออกฤทธิ์ในน้ำ
SCSuspension Concentrateสูตรสารผสมแขวนลอย ออกฤทธิ์เข้มข้นในของเหลว ไม่ตกตะกอนเมื่อนำไปเจือจางด้วยน้ำก่อนใช้
CSCapsule Suspensionสูตรสารแขวนลอยอยู่ในรูปแคปซูลแขวนลอยอยู่ในของเหลว
SLSoluble Concentrateสูตรของเหลวที่ผสมในเนื้อเดียวกัน เมื่อนำไปเจือจางละลายน้ำ สารออกฤทธิ์จะละลายน้ำโดยตรง
SPSoluble Powderสูตรเป็นรููปผง เมื่อนำไปใช้ต้องผสมน้ำ ตัวสารออกฤทธิ์จะละลายน้ำได้ แต่มีบางส่วนของสารไม่ออกฤทธิ์ในสูตรผสมที่ไม่ละลายน้ำ
TBTabletสูตรชนิดเม็ด ต้องละลายน้ำก่อนใช้
WPWettable Powderสูตรชนิดผงผสมน้ำ เป็นรูปผง เมื่อจะใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำ ได้สารละลายในรูปของสารผสมแขวนลอย
WGWater Dispersible Granulesสูตรชนิดเม็ดผสมน้ำ เป็นรูปเม็ด มีคุณสมบัติและการผลิตเช่นเดียวกับ WP เพียงแต่ทำออกมาเป็นเม็ด
ZCA mixed formulation of CS and SCสูตรผสมระหว่าง CS และ SC
ZWA mixed formulation of CS and EW สูตรผสมระหว่าง CS และ EW

916297total visits,345visits today

ปฏิบัติการสกัดกำจัดใบด่างมันสำปะหลัง

เชื้อสาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic disease : CMD

 

อาการและความเสียหายของโรคใบด่าง

  •   กรณีนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก ยอดแตกใหม่แสดงอาการด่างเหลืองชัดเจน ใบมีลักษณะด่าง เหลืองหงิกงอ เสียรูปทรงทั้งต้น ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต มันสำปะหลังไม่สร้างหัวหรือหัวลีบเล็ก หากระบาดรุนแรงผลผลิตจะลดลง 80-100 เปอร์เซ็นต์
  • กรณีติดเชื้อจากแมลงหวี่ขาวยาสูบ ใบล่างปกติ ใบบริเวณยอดมีอาการด่างเหลือง หงิกงอ เสียรูปทรง หากติดเชื้อตั้งแต่มันอายุน้อย ต้นจะแคระแกรนไม่เจริญเติบโต หัวมันลีบเล็ก หากติดเชื้อตอนมันอายุมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์

 

การแพร่ระบาด

  1. ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค
  2. แมลงหวี่ขาวยาสูบ นำเชื้อไวรัสมาจากต้นที่เป็นโรคไปสู่ต้นปกติ

 

การป้องกัน/กำจัด

  1. กรณีไม่พบการระบาด สามารถป้องกันได้ดังนี้
    1. ห้ามนำเข้าและสอดส่องการลักลอบนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังจากต่างประเทศ หากพบเห็นการนำเข้าต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
    2. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ทราบแหล่งที่มา ใช้ท่อนพันธุ์ที่ไม่เคยเป็นโรคมาปลูก หรือใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งพันธุ์ที่มีการรับรอง
    3. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค เช่น พันธุ์ 89 และควรเลือกปลูกพันธุ์ที่มักไม่ค่อนพบการระบาด เช่น เกษตรศาสตร์ 50 หรือ ระยอง 72
    4. หมั่นสำรวจแปลงมันสำปะหลังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์
    5. หากพบต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการใบด่าง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
    6. ป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบในแปลงปลูกมันสำปะหลัง โดยพ่นสารเคมี  ดังนี้
      • อิมิดาโครพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20  ลิตร หรือ
      • ไดโนทีฟูแรน 10%SL อัตรา  20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
      • ไทอะมีโทแซม 25%  WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20  ลิตร
  2. กรณีพบการระบาด ต้องดำเนินการดังนี้
    1. แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที เพื่อตรวจวินิจฉัย
    2. หากพบต้นมันทำปะหลังที่แสดงอาการของโรค ให้ดำเนินการดังนี้
      1. กรณีต้นมันสำปะหลังยังเล็ก ไม่ลงหัว
        1. ให้ถอนต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการของโรคออก
        2. ตัดเป็นท่อนใส่ถุงดำ/กระสอบ และมัดปากถุงให้สนิท
        3. นำไปตากแดดไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือจนหว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย
      2. กรณีต้นมันสำปะหลังลงหัวแล้ว
        1. ให้ตัดเฉพาะต้นมันสำปะหลัง
        2. ตัดเป็นท่อนใส่ถุงดำ/กระสอบ และมัดปากถุงให้สนิท
        3. นำไปตากแดดไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือจนหว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย
      3. กรณีที่พบการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง จำเป็นต้องถอนทำลายทั้งแปลง
        1. ให้ถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดในแปลง
        2. นำไปฝังในหลุมลึกไม่น้อยกว่า 2-3 เมตร โดยไม่ให้มีเหง้าหรือเศษซากของต้นมันสำปะหลังหลงเหลืออยู่ในแปลง
        3. ฉีดพ่นต้นมันสำปะหลังดัวยสารกำจัดวัชพืช  อะมีทรีน 80%WG และกลบด้วยดินหนาไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร
    3. กำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบในแปลงที่พบอาการใบด่างมันสำปะหลังและแปลงข้างเคียงให้ทั่วต้นมันสำปะหลัง โดยใช้สารเคมีดังนี้
      • อิมิดาโครพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20  ลิตร หรือ
      • ไดโนทีฟูแรน 10%SL อัตรา  20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
      • ไทอะมีโทแซม 25%  WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20  ลิตร
    4. สำรวจติดตามอย่างต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์ หากพบต้นที่แสดงอาการใบด่างให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรทราบทันที

916297total visits,345visits today

เกาหลีตรวจพบ “ด้วงงวงเจาะเมล็ด”มะม่วงอบไอน้ำจากไทย (ฤดูกาลส่งออก ปี 2565)

  “ด้วงงวงเจาะเมล็ด”มะม่วง

 

      

สาธารณรัฐเกาหลี โดยหน่วยงานกักกันพืชและสัตว์ (Animal and Plant Quarantine Agency, APQA) ได้แจ้งเรื่องเตือนการตรวจพบด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ในมะม่วงอบไอน้ำส่งออกจากประเทศไทย ฤดูกาลส่งออก ปี 2565 (จำนวน 6 รายการ ตั้งแต่เดือน มีนาคม- พฤษภาคม 2565)

  •  

ตามเงื่อนไขการนำเข้าผลมะม่วงสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อตรวจพบศัตรูพืชกักกันที่ยังมีชีวิตอยู่ สินค้ามะม่วงล็อตนั้นจะต้องถูกทำลาย หรือถูกส่งกลับ และสวนมะม่วงสาเหตุจะถูกระงับการส่งออกในปีนั้นๆ ทั้งนี้สาธารณรัฐเกาหลีได้แจ้งให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบสาเหตุ และดำเนินการป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันติดไปกับมะม่วงนำเข้า โดยตรวจสอบแหล่งผลิตมะม่วง แหล่งคัดผลมะม่วง การตรวจรับรองมะม่วงอบไอน้ำก่อนส่งออก และรายงานผลให้สาธารณรัฐเกาหลีทราบ

   คำแนะนำในการป้องกันกำจัดด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงในแปลงปลูก

1.ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช เศษซากพืช เก็บผลมะม่วงที่ร่วงหล่นไปเผาทำลาย ในกรณีที่ต้นมะม่วงอายุมากกว่า 15 ปี ต้องหมั่นตรวจดูด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงที่หลบซ่อนตามรอยแตกของเปลือก เพื่อลดแหล่งหลบซ่อนของตัวเต็มวัยของด้วงเจาะเมล็ดมะม่วง

2.มีการจัดการให้น้ำ ปุ๋ย และการใช้สารฆ่าแมลงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสวนมะม่วงที่เคยมีประวัติการระบาดของด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงมาก่อน ควรฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันด้วงงวงเจาะเมล็ดตั้งแต่ระยะเริ่มติดผลอ่อน หลังจากช่อดอกโรย โดยฉีดพ่นสารทุกๆ7 วัน จนกว่าจะห่อผลมะม่วง หรือถ้าไม่ห่อผลต้องฉีดสารจนกว่าผลมะม่วงจะเจริญเติบโตอยู่ในระยะเข้าไคล

3.สารเคมีที่แนะนำให้ใช้คือ สารฆ่าแมลงอิมิดาคลอพริด, แลมป์ดา ไซฮาโลทริน เพราะสารเคมีจะสลายตัวเร็ว ตกค้างบนผลผลิต (maximum residue limit, MRL) w,jเกินมาตรฐานการส่งออก

916297total visits,345visits today

มารู้จักแมลงวันผลไม้กันเถอะ…

       

            “แมลงวันผลไม้” เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของผลไม้ และผักหลายชนิด นอกจากทำให้ผลผลิตเน่าเสียแล้วยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ส่งออกเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ที่ติดไปกับผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดจากประเทศไทย จนบางประเทศต้องระงับการนำเข้า ส่วนการใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดนอกจากจะทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตที่ส่งไปจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมอีกด้วย

 

            ลักษณะการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้

แมลงวันผลไม้เพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แหลมๆที่อยู่ปลายก้น (Ovipositor) แทงเข้าไปในเนื้อผลเพื่อวางไข่ โดยวางไข่ทั้งระยะผลแก่ใกล้สุก เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอน จะพอดีกับระยะที่ผลไม้นั้นสุก และจะอาศัยกัดกินอยู่ภายในผลนั้น ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นสู่พื้น จากนั้นตัวหนอนจะจะออกจากผลที่หล่นร่วงและเข้าดักแด้ในดิน แล้วฟักออกเป็นตัวเต็มวัย การทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตอาการได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นจะทำให้ผลเน่า และมีน้ำไหลเยิ้มออกมาทางรูที่เจาะ และหนอนจะออกมาจากผลเพื่อเข้าดักแด้ นอกจากนี้ผลที่ถูกทำลายมักจะมักโรคแมลงอื่นๆเข้าทำลายซ้ำ พืชที่มักพบการระบาดของแมลงวันผลไม้ ได้แก่ ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา มะเฟือง น้อยหน่า มะม่วง พริก

          การควบคุมแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีการผสมผสาน

เป็นการควบคุมศัตรูพืชตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวิธีใช้ร่วงกันและแต่ละกรรมวิธีต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงจะสามารถควบคุม หรือป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย

                    1.การใช้สารล่อ

1.1 การใช้เมธิลยูจินอล (Methyl Eugenol) เป็นสารล่อแมลงวันผลไม้เพศผู้ อัตราการใช้เมธิลยูจินอล 4 ส่วน ผสมมาลาไธออน 83% อีซี 1 ส่วน หยดลงบนก้อนสำลี 3-5 หยด แล้วนำไปแขวนในกับดัก จากนั้นนำกับดักไปแขวนในทรงพุ่ม หรือรอบๆแปลงปลูก สูงประมาณ 1.5 เมตร

1.2 การใช้เหยื่อโปรตีน ซึ่งสามารถดึงดูดได้ทั้งแมลงวันผลไม้เพศผู้และเพศเมีย โดยใช้เหยื่อโปรตีนออโตไลเสท (Protein autolysate) หรือ ไฮโดรไลเซต (Protein hydrolysate) อัตรา 200 มิลลิลิตร ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไธออน 57% หรือ 83% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 5 ลิตร พ่นเป็นจุดๆ ต้นละ 4 จุด พ่นต้นเว้นต้น ทุก 7 วัน และพ่นเวลาเช้าตรู่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แมลงวันผลไม้ออกมาหาอาหาร

                   2.การห่อผล

ควรห่อผลด้วยถุงพลาสติก หรือถุงกระดาษให้มิดชิด หากเป็นถุงพลาสติกควรตัดก้นถุงเพื่อระบายน้ำออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลมีขนาดเล็ก ความแตกต่างขึ้นอยู่กับชนิดของพืช

                   3.การทำความสะอาดแปลงปลูก

โดยเก็บผลที่ถูกแมลงวันทำลาย หรือผลที่ร่วงหล่นออกจากแปลง โดยนำไปทำน้ำหมัก ฝังกลบ หรือเผา เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การฝังกลบต้องกลบให้ลึกมากกว่า 15 เซนติเมตร

                   4.การกำจัดพืชอาศัย

การตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมเป็นที่อาศัย และการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้

                   5.การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ

การปล่อยแตนเบียนหนอนแมลงวันผลไม้ (Diachasmimorpha longicaudata) เพื่อควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติ ซึ่งแตนเบียนเพศเมียจะวางไข่ในตัวหนอนของแมลงวันผลไม้ ที่อาศัยอยู่ในผล ตัวหนอนของแตนเบียนจะเจริญเติบโตและกัดกินอาหารในลำตัวของหนอนแมลงวันผลไม้ ทำให้หนอนแมลงวันผลไม้ตายในที่สุด

 

                   6.การใช้แมลงวันผลไม้เป็นหมัน

การกำจัดแมลงวันผลไม้ให้หมดไปจากพื้นที่ที่ต้องการ โดยเลี้ยงแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณมาก และนำแมลงเหล่านั้นไปฉายด้วยรังสีแกมมาเพื่อให้แมลงเป็นหมัน จากนั้นนำแมลงที่เป็นหมันนี้ ไปปล่อยในพื้นที่กว้างหรือครอบคลุมพื้นที่ เพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติ ทำให้ไม่มีลูก เมื่อปล่อยแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน ทำให้แมลงวันผลไม้ในธรรมชาติลดลง หรือหมดไปในที่สุด

916297total visits,345visits today

ขอแนะนำทางเลือกให้เกษตรกร ใช้บริการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (7/7/65)

ฤดูกาลผลิตนี้ เข้าสู่ช่วงที่ต้องเริ่มหาปุ๋ยมาใส่ต้นพืชกันแล้ว แต่สถานการณ์ที่ปุ๋ยเคมียังคงราคาสูง กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีอยู่ทุกอำเภอ และมี 9 ศูนย์สามารถให้บริการจ้างผสมปุ๋ย โดยมีเครื่องผสมปุ๋ย ที่จะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ คุ้มค่า ได้ผลผลิตดี

❌️ เพราะการใส่ปุ๋ยแบบวิธีเดิม คือสูตรสำเร็จ ใช้วิธีประมาณการต่อไร่ แต่ไม่ได้รู้ว่าต้นพืชได้ธาตุอาหารครบหรือไม่ โดยเฉพาะ เอ็น พี เค ถ้าใส่เยอะเกิน จะเปลือง และเพิ่มต้นทุน บางธาตุใส่เยอะเกินแล้วเป็นผลเสียทำให้พืชอ่อนแอ โรคแมลงทำลาย แต่ถ้าใส่ธาตุอาหารไม่เพียงพอ ต้นพืชก็จะเจริญเติบโตได้ไม่ดีพอ อาจอ่อนแอ ผลผลิตต่ำ

✅️ แต่การใส่ปุ๋ยที่ถูก ด้วยการคิดปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการ แล้วผสมออกมาเป็นสูตร โดยนำปุ๋ยที่หาได้ในท้องตลาดมาผสม ด้วยเครื่องผสมปุ๋ย ความคุ้มค่าเกิดขึ้นแน่นอน เพราะพืชจะได้ธาตุอาหารครบ สมบูรณ์ แข็งแรง ผลผลิตดี

เกษตรกรที่สนใจ ติดต่อได้ที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน

916297total visits,345visits today