ITA 2567

O1 โครงสร้าง

O2 ข้อมูลผู้บริหาร

O3 อำนาจหน้าที่

O4 ข้อมูลติดต่อ

O5 ข่าวประชาสัมพันธ์

O6 Q&A

O10 คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงาน

O11 คู่มือหรือแนวทางการให้บริการ

O13 E-Service

O14 รายการจัดซื้อจัดจ้าง

O15 ประกาศต่างๆ

O16 ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้าง

O17 รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง

O25 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ มีภารกิจหลักในการรับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืช จากเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อต้องการทราบสถานการณ์การเพาะปลูกของเกษตรกร ประมาณการผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยเกษตรกรจะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร หลังจากปลูกพืชแล้ว 15 วัน ปัจจุบันเกษตรกรสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือแจ้งข้อมูลได้ด้วยตนเองทาง Mobile Application และระบบ e-form

ขั้นตอนในการรับแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอจะประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบถึงความสำคัญของการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ผ่านช่องทางต่างๆ และเมื่อเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนใหม่หรือปรับปรุงข้อมูลทำการเกษตร เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอจะมีการตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

1) การตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร

2) ตรวจสอบโดยใช้ระบบโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่และขอบเขตเอกสารสิทธิ์ จากกรมที่ดิน ตรวจสอบข้อมูลบุคคลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจ (เกษตรพันธสัญญา) จากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

3) การตรวจสอบทางสังคม หลังจากที่ระบบโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอจะจัดพิมพ์ข้อมูลไปติดประกาศในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นเวลา 3 วัน และ/หรือจัดประชาคมเพิ่มเติมในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยดำเนินการทุกชนิดพืชทั้งแปลงเดิมและแปลงใหม่ เพื่อให้เกษตรกรในหมู่บ้าน/ชุมชนนั้นตรวจสอบ โดยเกษตรกรต้องลงชื่อยืนยันความถูกต้องข้อมูลของตนเอง มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ผ่านการตรวจสอบ หรือสามารถคัดค้านหากข้อมูลของตนเองหรือเกษตรกรรายอื่นไม่ถูกต้อง จากนั้นคณะทำงานตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรระดับหมู่บ้านจะลงชื่อเพื่อรับทราบผลการติดประกาศและ/หรือผลการประชาคม

  1. การตรวจสอบพื้นที่ จะดำเนินการทั้งแปลงเดิมและแปลงใหม่ เพื่อป้องกันการแจ้งขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อน โดยผู้ดำเนินการตรวจสอบจะใช้เครื่อง GPS ออกเดินสำรวจรอบแปลงพื้นที่จริงเพื่อวัดและจับพิกัดแปลง หรือตรวจสอบโดยถ่ายภาพแปลงปลูกร่วมกับผู้นำชุมชน/อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)

ผู้ดำเนินการตรวจสอบจะประกอบด้วย
1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบลของกรมส่งเสริมการเกษตร
2) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ตามภารกิจที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมอบหมาย หรือ
3) เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอ หรือ
4) คณะทำงานตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน โดยให้นายอำเภอเป็นผู้แต่งตั้งอย่างน้อยประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน/ประธานชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้านหรือชุมชน/บุคคลอื่นตามความเหมาะสม และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน

หลังจากตรวจสอบข้อมูล ข้อร้องเรียนและข้อคัดค้านต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล จะจัดทำผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล (การวาดแปลง) และพิมพ์ข้อมูลลงในสมุดทะเบียนเกษตรกร หรือพิมพ์ใบรายงานผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อไป

O27 การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy

สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ได้จัดประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ครั้งที่ 11/2566 ในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร โดยนายสามารถ เดชบุญ เกษตรจังหวัดพิจิตร ได้มีการประกาศเจตนารมณ์ “สุจริต โปร่งใส จังหวัดพิจิตรใสสะอาด 2567” และ “งดรับ งดให้” ของขวัญของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตตามหลักธรรมาภิบาล ไม่รับของขวัญของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และเสริมสร้างค่านิยมประหยัดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต ขอให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกท่านทราบ และยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

434total visits,1visits today