ข่าวส่งเสริมและพัฒนาการผลิต

จังหวัดพิจิตรจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

จังหวัดพิจิตรจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 🌱

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานพิธีเปิดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โดยมีนายสุพจน์ รัตนรุ่งเรือง นายอำเภอวชิรบารมี ได้กล่าวต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และรายงานความเป็นมาของอำเภอวชิรบารมี ซึ่งอำเภอวชิรบารมี จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชทานชื่อ “วชิร” ให้เป็นชื่อของอำเภอตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของจังหวัด มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 259.5 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 51 หมู่บ้าน มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ทั้งนี้มีนายธนวัตร ค้ำชู เกษตรอำเภอวชิรบารมี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอวชิรบารมี และสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร หัวหน้าส่วนราชการทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกร ประชาชนชาวอำเภอวชิรบารมี และพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมงานและเข้ารับบริการคลินิกเกษตรมากกว่า 200 ราย

นายสามารถ เดชบุญ เกษตรจังหวัดพิจิตร ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณธิคุณที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ ซึงมีกิจกรรมภายในการ 3 กิจกรรม ประกอบด้วย

1. การลงนามถวายพระพรชัยมงคล และชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2. การให้บริการคลินิกเกษตรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 18 คลินิก และจากหน่วยงานที่เกี่ขวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

3. การมอบรางวัลผลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ระดับจังหวัด จำนวน 3 ราย มอบรางวัลผลการประกวดแปลงใหญ่ดีเด่น ระดับจังหวัด จำนวน 3 ราย มอบรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด จำนวน 3 ราย มอบรางวัลผลการประกวดเกษตรกร บุคคลทางการเกษตรและสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด จำนวน 15 ราย เเละรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำนา จำนวน 1 ราย

นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัย อันมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษาและต่อยอดพระราชปณิธานของพะรบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพล อดุยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ การพัฒนางานด้านต่างๆ ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระวิริยอุตสาหะ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือนร้อนของราษฎรในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง นั้นคือความทุ่มเทพระราชหฤทัยในการทรงงาน พระองค์ทรงเสียสละเพื่อประชาชน โดยเสมอมาและด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล พระองค์ทรงยึดมั่นที่จะสืบสาน รักษาและต่อยอด เพื่อเป็นแสงสว่างนำทางตามรอยพระราชปณิธานไปสู่ความผาสุกแก่ประชาชนและประเทศชาติ

โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นรูปแบบหนึ่ง ของการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมทั้งการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร โดยการถ่ายทอดความรู้ ให้แก่เกษตรกรไปในคราวเดียวกัน เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง

899727total visits,162visits today

มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ Organic

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด

899727total visits,163visits today

คู่มือการเลี้ยงด้วงวงมะพร้าว (ด้วงสาคู)

เอกสารเผยเเพร่ประชาสัมพันธ์ คู่มือการเลี้ยงด้วงวงมะพร้าว (ด้วงสาคู)

คู่มือการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว (ด้วงสาคู).pdf – Google Drive

คู่มือการเลี้ยงด้วงวงมะพร้าว (ด้วงสาคู)

899727total visits,163visits today

ดาวโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง การขอมาตรฐาน GAP เเละมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

– ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการรับรองการผลิตพืช ตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. ๒๕๕๕

– มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ. 9001-2556)

– มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ. 9000-2552)

– F-1 แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับรายเดียว)

– F-2 แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP (พืชสำหรับกลุ่ม)

– F-3 แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับรายเดียว)

– F-4 แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับกลุ่ม)

– F-5 แบบคำขอหนังสือรับรอง ใบรับรอง หรือขอแก้ไขข้อมูลการรับรอง

– F-6 แบบคำขอยกเลิกใบรับรอง

– F-51.1 แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์(สำหรับแปลงเดียว/รายเดียว)

– F-62 แบบใบรับรอง GAP แบบรายเดียว พืชเดียว (ภาษาไทย)

– F-62.1 แบบใบรับรอง GAP แบบรายเดียว พืชเดียว (ภาษาอังกฤษ)

– F-63 แบบใบรับรอง GAP แบบรายเดียว หลายพืช (ภาษาไทย)

– F-63.1 แบบใบรับรอง GAP แบบรายเดียว หลายพืช (ภาษาอังกฤษ)

– F-64 แบบใบรับรอง GAP แบบกลุ่ม (ภาษาไทย)

– F-64.1 แบบใบรับรอง GAP แบบกลุ่ม (ภาษาอังกฤษ)

– F-68 ข้าวโพดเมล็ดแห้ง

– F-69 มันสำปะหลัง

– F-70 อ้อยโรงงาน

– F-71 แบบใบรับรอง GAP ข้าวโพดเมล็ดแห้ง

– F-72 แบบใบรับรอง GAP มันสำปะหลัง

– F-73 แบบใบรับรอง GAP อ้อยโรงงาน

– F-74 แบบใบรับรอง GAP พืชสมุนไพร แบบรายเดียว

– F-75 แบบใบรับรอง GAP พืชสมุนไพร แบบกลุ่ม

– RE-1 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช

– RE-2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืช

– RE-7 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองการผลิตพืชอินทรีย์

– RE-8 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินการผลิตพืชอินทรีย์

– รายการปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์ที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยรับรองของกรมวิชาการเกษตร

– แบบคำขอขึ้นทะเบียนปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์

ค้นหาเเหล่งผลิต GAP คลิ๊ก GAP SYSTEM (doa.go.th)

899727total visits,163visits today

สรุปข้อมูลแปลงใหญ่-2565-ข้อมูลจำนวนเกษตกร-และพื้นที่เป้าหมาย

899727total visits,163visits today

รายงานผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2565

899727total visits,163visits today

แผนที่แปลงใหญ่จังหวัดพิจิตร ข้อมูล ณ สิงหาคม 2565

899727total visits,163visits today