โรคกาบใบแห้งในนาข้าว

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani

ลักษณะอาการ

พบในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฎแผลบริเวณกาบใบใกล้ระดับน้ำ ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ถ้าต้นข้าวแตกกอมากก็จะเบียนเสียดกันมากขึ้น ทำให้โรคระบาดรุนแรง แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้น และถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลจะลุกลามถึงใบธง และกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก

การแพร่ระบาด

เชื้อรามีชีวิตข้ามฤดู อาศัยอยู่ในตอซัง หรือวัชพืชในนาข้าว ซึ่งสามารถทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา

การป้องกันและกำจัด

1.หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรเผาตอซัง และพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา

2.ควรกำจัดวัชพืชตามคันนา และแหล่งน้ำ เพื่อทำลายพืชอาศัย และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา

3.ใช้สารชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทิลิส (เชื้อแบคทีเรียปฏิบักษ์)

4.ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โพรพิโคนาโซล เพนไซคูรอน โดยไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคนี้จะเกิดเป็นหย่อมๆ

389total visits,1visits today