เชื้อสาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic disease : CMD
อาการและความเสียหายของโรคใบด่าง
- กรณีนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก ยอดแตกใหม่แสดงอาการด่างเหลืองชัดเจน ใบมีลักษณะด่าง เหลืองหงิกงอ เสียรูปทรงทั้งต้น ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต มันสำปะหลังไม่สร้างหัวหรือหัวลีบเล็ก หากระบาดรุนแรงผลผลิตจะลดลง 80-100 เปอร์เซ็นต์
- กรณีติดเชื้อจากแมลงหวี่ขาวยาสูบ ใบล่างปกติ ใบบริเวณยอดมีอาการด่างเหลือง หงิกงอ เสียรูปทรง หากติดเชื้อตั้งแต่มันอายุน้อย ต้นจะแคระแกรนไม่เจริญเติบโต หัวมันลีบเล็ก หากติดเชื้อตอนมันอายุมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์
การแพร่ระบาด
- ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค
- แมลงหวี่ขาวยาสูบ นำเชื้อไวรัสมาจากต้นที่เป็นโรคไปสู่ต้นปกติ
การป้องกัน/กำจัด
- กรณีไม่พบการระบาด สามารถป้องกันได้ดังนี้
- ห้ามนำเข้าและสอดส่องการลักลอบนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังจากต่างประเทศ หากพบเห็นการนำเข้าต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
- ใช้ท่อนพันธุ์ที่ทราบแหล่งที่มา ใช้ท่อนพันธุ์ที่ไม่เคยเป็นโรคมาปลูก หรือใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งพันธุ์ที่มีการรับรอง
- หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค เช่น พันธุ์ 89 และควรเลือกปลูกพันธุ์ที่มักไม่ค่อนพบการระบาด เช่น เกษตรศาสตร์ 50 หรือ ระยอง 72
- หมั่นสำรวจแปลงมันสำปะหลังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์
- หากพบต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการใบด่าง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
- ป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบในแปลงปลูกมันสำปะหลัง โดยพ่นสารเคมี ดังนี้
- อิมิดาโครพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร หรือ
- ไดโนทีฟูแรน 10%SL อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
- ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร
- กรณีพบการระบาด ต้องดำเนินการดังนี้
- แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที เพื่อตรวจวินิจฉัย
- หากพบต้นมันทำปะหลังที่แสดงอาการของโรค ให้ดำเนินการดังนี้
- กรณีต้นมันสำปะหลังยังเล็ก ไม่ลงหัว
- ให้ถอนต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการของโรคออก
- ตัดเป็นท่อนใส่ถุงดำ/กระสอบ และมัดปากถุงให้สนิท
- นำไปตากแดดไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือจนหว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย
- กรณีต้นมันสำปะหลังลงหัวแล้ว
- ให้ตัดเฉพาะต้นมันสำปะหลัง
- ตัดเป็นท่อนใส่ถุงดำ/กระสอบ และมัดปากถุงให้สนิท
- นำไปตากแดดไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือจนหว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย
- กรณีที่พบการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง จำเป็นต้องถอนทำลายทั้งแปลง
- ให้ถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดในแปลง
- นำไปฝังในหลุมลึกไม่น้อยกว่า 2-3 เมตร โดยไม่ให้มีเหง้าหรือเศษซากของต้นมันสำปะหลังหลงเหลืออยู่ในแปลง
- ฉีดพ่นต้นมันสำปะหลังดัวยสารกำจัดวัชพืช อะมีทรีน 80%WG และกลบด้วยดินหนาไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร
- กรณีต้นมันสำปะหลังยังเล็ก ไม่ลงหัว
- กำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบในแปลงที่พบอาการใบด่างมันสำปะหลังและแปลงข้างเคียงให้ทั่วต้นมันสำปะหลัง โดยใช้สารเคมีดังนี้
- อิมิดาโครพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร หรือ
- ไดโนทีฟูแรน 10%SL อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
- ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร
- สำรวจติดตามอย่างต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์ หากพบต้นที่แสดงอาการใบด่างให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรทราบทันที
525total visits,1visits today