ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านอารักขาพืช

KM-การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (ระบบสารสนเทศด้านพืช รต.รอ.)

การบริหารจัดการ ข้อมูลสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (ระบบสารสนเทศด้านพืช รต.รอ.) สามารถดูข้อมูล คลิกที่นี้ https://drive.google.com/file/d/15qZQC0h-8fi7naSljFlfS6uN_cxbg11O/view?usp=sharing

916606total visits,151visits today

“เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่สำรวจแปลง จัดเก็บข้อมูลกับดักแมลง ณ แปลงเรียนรู้การจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง”

วันที่ 30 เมษายน 2567 นางสาวพัชรินทร์ บุญประกอบ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวณภัทรทิตา ฉายศรี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ร่วมกับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอสากเหล็ก ลงพื้นที่สำรวจแปลง และจัดเก็บข้อมูลจากกับดักแมลง (Sticky Trap แบบประยุกต์) ในแปลงเรียนรู้การจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงแบบผสมผสาน หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

ผลจากการสำรวจ ทั้งหมด 10 จุด ในพื้นที่ 1 ไร่ “ไม่พบด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง”

พบแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ แมลงวันผลไม้

และพบศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ มวนตาโต แมงมุม แมลงวันก้นขน

ทั้งนี้ ในแปลงมะม่วงมีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) เช่น การห่อผล การตัดแต่งกิ่ง การใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อราเมตตาไรเซียม ใส่บริเวณโคนต้น เพื่อกำจัดแมลงระยะดักแด้ เป็นต้น

รวมทั้งมีการติดกับดักกาวเหนียว (Sticky Trap แบบประยุกต์)

ภาพ/ข่าว : กลุ่มอารักขาพืช

916606total visits,151visits today

เกษตรจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่สำรวจติดตามมันสำปะหลังและสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง

วันที่ 13 กันยายน 2566 นายสามารถ เดชบุญ เกษตรจังหวัดพิจิตร มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ในการบริหารจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังให้เกษตรกร รวมถึงวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในพื้นที่ ณ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

ภาพ/ข่าว : กลุ่มอารักขาพืช

916606total visits,151visits today

เตือนภัยเดือนกุมภาพันธ์ 2566

916606total visits,151visits today

หลักการวินิจฉัยแมลงศัตรูพืช

รูป อาการสาเหตุ
ใบแหว่งไม่สม่ำเสมอ





เกิดจากการกัดกินของ
แมลงทั่วไป เช่น ตั๊กแตน
หนอนผีเสื้อ ด้วงเต่ากินใบ
และหอยทาก


ขอบใบแหว่งเข้าไป
อย่างมีระเบียบ
อาจพบแมลงหรือมูล
เป็นก้อนเล็กๆ


เกิดจากการทำลายของด้วงงวง
เช่น แมลงค่อม




ใบเป็นรูพรุนขนาดเล็ก
หรือใบเป็นรูพรุนขนาดใหญ่




เกิดจากการกัดกินของด้วงหมัด
และด้วงเต่าทอง




ใบมีรูโหว่ไม่สม่ำเสมอ
ขอบใบไม่มีรอยกัดกิน
อาจมีรอยโหว่คล้ายเป็นมา
นานแล้ว


เกิดจากการดูดกินของพวกมวนหญ้า





ใบถูกตัดและม้วนเป็นวง
โดยตัวหนอนจะกัดใบขาด
และใช้ใบหมุนหุ้มตัวเอาไว้
(เกิดในฝ้าย)


หนอนม้วนใบฝ้าย





ใบถูกตัดและม้วนเป็นวง
โดยตัวหนอนจะกินใบขาด
และใช้ใบม้วนหุ้มตัวเอาไว้
(เกิดในกล้วย)


หนอนม้วนใบกล้วย





ใบแห้งเป็นหย่อม ใบเหลือง
เหี่ยวเฉา หรือใบเหลืองซีด




เกิดจากเพลี้ยไฟ หรือไรแดง





ใบมีก้อนโป่ง มักพบด้านใต้ใบ
มีขนาดไม่สม่ำเสมอ




เกิดจากไรขาว ซึ่งอาศัยอยู่ภายใน
ก้อนโป่งนั้น




ใบมีปุ่มลักษณะกลมหรือกลมรี
พบทั้งด้านบนและด้านล่างใบ
กระจัดกระจายไปทั่วตาม
ขอบใบหรือเส้นใบ


เกิดจากการทำลายของแมลง
จำพวก บั่ว ไรสร้างปม
และแตนสร้างปม



ใบถูกชอนเป็นอุโมง





ถ้าเห็นรอยสีดำตรงกลางอุโมงค์
เกิดจากการทำลายของ
หนอนผีเสื้อ



ฝักถูกเจาะเป็นโพรง มักพบ
รอยเจาะเป็นทางออก
สู่ด้านนอก อาจพบมูลและ
อาการเน่าบริเวณที่ถูกทำลาย


เกิดจากหนอนกินผล
จำพวกผีเสื้อ




916606total visits,151visits today

การสำรวจสถานการณ์ศัตรูพืช

การสำรวจสถานการณ์ศัตรูพืชตามระบบของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นการสำรวจติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชที่ทำกับต่อเนื่องทุกสัปดาห์ตลอดฤดูปลูก โดยจัดเก็บข้อมูลชนิด ปริมาณศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ อาการผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นบนต้นพืชและข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงมาประกอบการวิเคราะห์พยากรณ์ และคาดการณ์สถานการณ์ เพื่อแจ้งเตือนการระบาดให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า และหาแนวทางป้องกันก่อนเกิดการระบาดได้อย่างทันท่วงที

ซึ่งการสำรวจมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามกลุ่มพืช ดังนี้

1.ข้าว ขนาดแปลงประมาณ 1 ไร่

สำรวจ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

-นาดำ 1 กอ/จุด

-นาหว่าน 10 ต้น/จุด

2.พืชไร่ ขนาดแปลงประมาณ 1 ไร่

สำรวจ 10 จุด จุดละ 10 ต้น กระจายทั่วแปลง

3.พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ขนาดแปลงประมาณ 1 งาน

สำรวจ 10 จุด จุดละ 10 ต้น กระจายทั่วแปลง

4.ไม้ผล ไม้ยืนต้น

สำรวจพืชชนิดเดียวกันจำนวน 10 ต้น (1ต้น นับเป็น 1 จุด) กระจายทั่วแปลง

โดยแต่ละต้นให้สำรวจทรงพุ่ม 4 ทิศ (เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก) ทิศละ 2 ยอด และบริเวณกิ่ง ลำต้น และรอบโคนต้น

การบันทึกข้อมูลชนิดศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติที่ได้จากการสำรวจแปลง

1.แมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ

แมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติให้นับจำนวนตัวแมลงที่สำรวจในแต่ละจุดสำรวจบันทึกในแบบสำรวจ

2.โรคพืช

โรคพืช นับจำนวนวต้นที่พบอาการของแต่ละโรคที่สำรวจในแต่ละจุดสำรวจ บันทึกลงแบบสำรวจ

916606total visits,151visits today

การเข้าทำลาย การป้องกันกำจัด “เพลี้ยกระโดดหลังขาว”

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sogetella furcifera (Horvath)

รูปร่างลักษณะ

เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีจุดดำตรงกลาง และปลายปีกมีแถบสีขาวตรงส่วนอกระหว่างปีกทั้งสอง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลถึงสีดำ ลำตัวสีเหลือง มีแถบสีขาวเห็นชัดอยู่ตรงส่วนอกระหว่างปีกทั้งสองข้าง มีทั้งชนิดปีกสั้นและชนิดปีกยาว เพศเมียวางไข่ในกาบใบข้าว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บริเวณกอข้าว

ลักษณะการทำลายและการระบาด

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดหลังขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากโคนกอข้าว ต้นข้าวที่ถูกทำลายใบมีสีเหลืองส้ม ถ้ามีแมลงปริมาณมาก ต้นข้าวอาจถูกทำลายจนเหี่ยวและแห้งตาย การระบาดค่อนข้างกระจายสม่ำเสมอเป็นพื้นที่กว้าง พบตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง

การป้องกันกำจัด

1.ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี 60, ชัยนาท1, สุพรรณบุรี1, กข 31 ไม่ควรปลูกติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก

2.ควบคุมระดับน้ำในแปลงนา ให้มีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ให้แห้งเอง สลับกันไปจะช่วยลดการระบาด

916606total visits,151visits today

เกษตรจังหวัดพิจิตร ติดตามงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เบิกแทนกรมการข้าว)

วันที่ 12 กันยายน 2565 นายสามารถ เดชบุญ เกษตรจังหวัดพิจิตร มอบให้นายศราวุธ จันทรมณี และนางสาวพัชรินทร์ บุญประกอบ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอวชิรบารมี
ติดตามการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เบิกแทนกรมการข้าว) กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวตำบลวังโมกข์ อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร

และวันที่ 13 กันยายน 2565 ได้ติดตามการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เบิกแทนกรมการข้าว) กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวตำบลวังงิ้วใต้ อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
เพื่อทราบถึงผลการดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการศัตรูข้าว ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขของแต่กลุ่ม

916606total visits,151visits today

“แมลงสิง” ศัตรูข้าวในระยะออกรวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leptocorisa oratorius (Febricius)

รูปร่างลักษณะ

ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว ประมาณ 15 มิลลิเมตร มีหนวดยาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี และปล่อยกลิ่นเหม็นออกจากต่อมที่ส่วนหน้าท้อง ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน ตัวอ่อนมีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวก่อน ต่อมาเป็นตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายเมล็ดข้าวในระยะเป็นน้ำนมจนถึงออกรวง

ลักษณะการทำลาย และการระบาด

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ระยะเป็นน้ำนม แต่ก็สามารถดูดกินเมล็ดข้าวทั้งเมล็ดอ่อนถึงเมล็ดแข็ง ทำให้เมล็ดลีบ หรือเมล็ดไม่สมบูรณ์ และผลผลิตข้าวลดลง ความสูญเสียจากการเข้าทำลายของแมลงสิง ทำให้เมล็ดข้าวเสียคุณภาพมากกว่าทำให้น้ำหนักเมล็ดลดลง โดยเมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำลาย เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสารเมล็ดจะแตกหัก

การป้องกันกำจัด

1.กำจัดวัชพืชในนาข้าว คันนา และรอบๆแปลง

2.ใช้สวิงโฉบจับตัวอ่อน และตัวเต็มวัย และนำมาทำลาย

3.ตัวเต็มวัยชอบกินเนื้อเน่า โดยนำเนื้อเน่าแขวนไว้ตามคันนา แล้วจับมาทำลาย

4.หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการแพร่ขยายพันธุ์

5.ใช้สารกำจัดแมลง คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์20% อีซี) อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้ำ20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงสิงมากกว่า 4 ตัวต่อตารางเมตร ในระยะข้าวเป็นน้ำนม

916606total visits,151visits today

เกษตรจังหวัดพิจิตร ติดตามงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เบิกแทนกรมการข้าว)

วันที่ 8 กันยายน 2565 นายสามารถ เดชบุญ เกษตรจังหวัดพิจิตร มอบให้นายศราวุธ จันทรมณี และนางสาวพัชรินทร์ บุญประกอบ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช พร้อมด้วย นายฉกาจ ศรีบาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอทับคล้อ
ติดตามการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (เบิกแทนกรมการข้าว) จำนวน3กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่คือ
1.กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวบ้านลำประดา ต.เขาทราย
2.กลุ่มพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าว ม.1 ต.เขาเจ็ดลูก
3.กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวบ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก
เพื่อทราบถึงผลการดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการศัตรูข้าว ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขของแต่กลุ่ม

916606total visits,151visits today