การสำรวจสถานการณ์ศัตรูพืช

การสำรวจสถานการณ์ศัตรูพืชตามระบบของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นการสำรวจติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชที่ทำกับต่อเนื่องทุกสัปดาห์ตลอดฤดูปลูก โดยจัดเก็บข้อมูลชนิด ปริมาณศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ อาการผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นบนต้นพืชและข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงมาประกอบการวิเคราะห์พยากรณ์ และคาดการณ์สถานการณ์ เพื่อแจ้งเตือนการระบาดให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า และหาแนวทางป้องกันก่อนเกิดการระบาดได้อย่างทันท่วงที

ซึ่งการสำรวจมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามกลุ่มพืช ดังนี้

1.ข้าว ขนาดแปลงประมาณ 1 ไร่

สำรวจ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

-นาดำ 1 กอ/จุด

-นาหว่าน 10 ต้น/จุด

2.พืชไร่ ขนาดแปลงประมาณ 1 ไร่

สำรวจ 10 จุด จุดละ 10 ต้น กระจายทั่วแปลง

3.พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ขนาดแปลงประมาณ 1 งาน

สำรวจ 10 จุด จุดละ 10 ต้น กระจายทั่วแปลง

4.ไม้ผล ไม้ยืนต้น

สำรวจพืชชนิดเดียวกันจำนวน 10 ต้น (1ต้น นับเป็น 1 จุด) กระจายทั่วแปลง

โดยแต่ละต้นให้สำรวจทรงพุ่ม 4 ทิศ (เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก) ทิศละ 2 ยอด และบริเวณกิ่ง ลำต้น และรอบโคนต้น

การบันทึกข้อมูลชนิดศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติที่ได้จากการสำรวจแปลง

1.แมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ

แมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติให้นับจำนวนตัวแมลงที่สำรวจในแต่ละจุดสำรวจบันทึกในแบบสำรวจ

2.โรคพืช

โรคพืช นับจำนวนวต้นที่พบอาการของแต่ละโรคที่สำรวจในแต่ละจุดสำรวจ บันทึกลงแบบสำรวจ

741total visits,2visits today