ติดตามสถานการณ์การ 3R Model ม.2 ต.วังหว้า

วันที่ 3 มีนาคม 2568 นางเกสร บีกขุนทด เกษตรอำเภอตะพานหิน มอบหมายให้นายอัษฎกร ขุนพิลึก พร้อมนางสาวจิตรา น้อยพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3R Model เพื่อส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรของนายสุชาติ น่วมเจิม เกษตรกร หมู่ 2 ตำบลวังหว้า อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ทำนา 20 ไร่ ปกติจัดการฟางข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวโดยการเผา ปรับเปลี่ยนเป็นการปั่นหมักฟางค่าบริการ 350 บาท/ไร่ หมักเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน เพื่อให้ฟางย่อยสลาย สามารถลดการสูญเสียมูลค่าของฟาง หรือได้ปุ๋ยกลับมา 893 บาท/ไร่ เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุและเพิ่มธาตุอาหารลงในดิน และยังเป็นการปรับโครงสร้างดินให้โปร่ง ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และยังได้นำฟางข้าวจากนาบางส่วนไปจัดฝึกอบรมทำเห็ดฟางในตระกร้าในโครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรในหมู่บ้าน ตามหลักการ 3R Model : เปลี่ยนพฤติกรรม (Re-Habit) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์